QA QC คืออะไร ต่างกันอย่างไร

QA&QC คืออะไร? ทำไมคนที่อยากสร้างแบรนด์ต้องรู้ แตกต่างกันอย่างไร

QA และ QC หลาย ๆ คนที่เริ่มต้นทำธุรกิจหรือเริ่มต้นที่อยากจะทำแบรนด์คงเคยได้ยินหรือคุ้นตากับคำภาษาอังกฤษสองตัวนี้กันพอควร โดยทั้งสองคำนี้มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ หากใครที่กำลังอยากที่สร้างแบรนด์เป็นของตัวเองควรจะต้องรู้ว่า QA และ QC คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

โดยในบทความนี้จะพาไปหาคำตอบว่า QA และ QC คืออะไร มีข้อเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มีหน้าที่และความสำคัญอย่างไรในการทำธุรกิจ เพื่อจะได้วางมาตรฐานสินค้าของแบรนด์คุณ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้

QA คืออะไรมีหน้าหน้าอะไรบ้าง

QA คือ

ในเรื่องของ QA (Quality Assurance) หรือการประกันคุณภาพสินค้า เป็นเรื่องที่สำคัญมากในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ถือเป็นมาตรฐานหลักที่ขาดไม่ได้ สำหรับคนที่อยากสร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง เราจะพามาทำความรู้จักกับ QA ว่าคืออะไร แล้วหน้าที่ของ QA มีอะไรบ้าง

QA (Quality Assurance) คืออะไร?

QA ย่อมาจาก Quality Assurance หรือการประกันคุณภาพของสินค้า คือกระบวนการที่มีการวางแผนและแพลนไว้ล่วงหน้าอย่างมีระบบ เพื่อที่จะสามารถมั่นใจได้ว่ากระบวนการผลิตสินค้าและการบริการนั้นมีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐาน ผ่านการทดสอบและตรวจสอบตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อเป็นการประกันว่าลูกค้าหรือผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ และมีความพึงพอใจในสินค้า

หน้าที่ของ QA (Quality Assurance) 

หน้าที่ของ QA หรือเจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ คือ มีหน้าที่ที่ต้องคอยควบคุมวางแผน รวมถึงประเมินและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในขั้นตอนกระบวนการผลิต โดยเจ้าหน้าที่ QA ต้องคอยประเมิน วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อวางแผนในการแก้ปัญหานั้น และไม่ให้เกิดซ้ำ รวมถึงเป็นคนกำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการของโรงงานโดยยึดจากความต้องการของลูกค้า และตรวจสอบสินค้าที่ผ่านการ QC มาแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย และช่วยลดการเกิดปัญหาในระยะยาว

QC (Quality Control) คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง?

QC คือ

อีกหนึ่งมาตรฐานที่ขาดไม่ได้เช่นกันกับ QC (Quality Control) หรือการควบคุมคุณภาพ ที่เป็นมาตรฐานหลักอีกตัวสำหรับกระบวนผลิต เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเรามารู้จักความหมายและหน้าที่ของ QC ว่ามีอะไรบ้างกัน

QA (Quality Assurance) คืออะไร?

QC ย่อมาจาก Quality Control หรือการควบคุมคุณภาพ คือการควบคุมคุณภาพให้ตรงตามมาตรฐาน เพื่อให้ตรงตามความพึงพอใจของลูกค้า โดยควบคุมตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ สารสกัดต่าง ๆ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิตสินค้าไปจนถึงการบริการให้ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนด

หน้าที่ของ QC (Quality Control) 

หน้าที่ของ QC หรือเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ คือ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบสินค้า ตั้งแต่กระบวนการรับเข้ามาผลิตไปจนถึงผลิตเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูปก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

1. ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ หรือ Raw Material

อันดับแรกเจ้าหน้าที่ QC ต้องมีการตรวจสอบวัตถุดิบก่อนจะเริ่มทำการผลิต เพื่อที่จะได้ทราบว่าวัตถุดิบนั้นมีคุณภาพตรงตามใบรับรองหรือตรงตามใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์สินค้าหรือไม่

2. ตรวจสอบคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ หรือ Packaging

ต้องมีการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ก่อนนำไปบรรจุสินค้า ว่ามีบรรจุภัณฑ์นั้นมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือไม่

3. ตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์ หรือ Bulk

โดยการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อผลิตภัณฑ์จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือตรวจสอบทางกายภาพและทางเคมี (Physical Chemical Testing) โดยดูจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

  • ลักษณะภายนอก (Appearance)
  • กลิ่น (Odor)
  • สี (Color)
  • ความเป็นกรด เป็นด่าง (pH)
  • ความเข้มข้นของเนื้อผลิตภัณฑ์ (Viscosity)

รวมถึงมีการตรวจสอบเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ (Microbiology Testing) โดยตรงส่งตรวจในห้องตรวจเชื้อที่ได้มาตรฐานเท่านั้น

4. ตรวจสอบคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต

ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพในระหว่างการผลิตทุก ๆ ชั่วโมง เช่นตรวจสอบการติดฉลากสินค้า ตรวจสอบน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ ตรวจสอบการแพ็กสินค้า เป็นต้น

5. ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือ Finish Good

หลังจากที่ทำการผลิตเสร็จเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ QC ทำการสุ่มตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปนั้นตรงตามมาตรฐานหรือไม่ รวมถึงต้องมีการเก็บตัวอย่าง (Sample Retention) เพื่อนำมาตรวจสอบภายหลัง โดยอายุของการจัดเก็บมาตรวจสอบจะขึ้นอยู่กับอายุของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

QC และ QA เกี่ยวข้องกับโรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง สกินแคร์อย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?

QA QC จำเป็นต้องมีทั้งคู่ไหม

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สกินแคร์ต่าง ๆ นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับคนโดยตรง โดยใช้กับผิวและร่างกายของเรา ดังนั้นผู้ที่อยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองจำเป็นจึงต้องเลือก โรงงานผลิตครีม ที่มี QA และ QC เพื่อที่จะสามารถช่วยตรวจสอบคุณภาพให้ผลิตภัณฑ์ของเราได้ทั้งการตรวจสอบทางกายภาพและทางเคมี รวมถึงตรวจสอบหาเชื้อรา แบคทีเรีย หรือสารก่อเชื้อโรคที่อาจจะก่อให้เกิดการแพ้ หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ หากไม่มีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์และมีผู้ใช้งานเกิดอันตราย อาจส่งผลเสีย ทั้งภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ ให้แบรนด์ของเราอย่างคาดไม่ถึงได้

ตัวอย่างศัพท์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับ QC และ QA ที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้ก่อนเป็นเจ้าของธุรกิจ

ศัพท์เฉพาะทางที่ควรรู้เกี่ยวกับ QC QA

ตัวอย่างของคำศัพท์ที่หากอยากเป็นเจ้าของแบรนด์ควรจะต้องรู้ มีดังนี้

  • AQL หรือ Acceptable Quality Limit คือ ระดับคุณภาพที่ยอมรับ หรือหมายถึงค่าสูงสุดของจำนวนผลิตภัณฑ์ที่มีความบกพร่องที่ยอมให้มีได้ในการผลิตจากการสุ่มตรวจสอบหนึ่งตัวอย่าง
  • Standard คือ ต้นแบบการผลิต ตัวอย่างในการตรวจสอบเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตรงตามมาตรฐานและความพึงพอใจของลูกค้า
  • Physical Chemical Testing คือการทดสอบทางกายภาพและทางเคมี
  • Microbiology Testing คือการทดสอบสารปนเปื้อน เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์
  • Viscosity คือค่าความหนืดของเนื้อผลิตภัณฑ์
  • Appearance คือ ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ครีม เจล ผง เซรั่ม
  • Finish Good คือ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
  • Retain Sample คือตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ทำการเก็บไว้เป็นตัวแทนเพื่อตรวจสอบติดตามคุณภาพ

สรุปความแตกต่างของ QA และ QC และความจำเป็นของโรงงานผลิต

หากสรุปง่าย ๆ เพื่อแยกความแตกต่างของ QA และ QC คือ QA การประกันคุณภาพเน้นการจัดการ ป้องกันไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายระหว่างการผลิต หรือไม่ได้คุณภาพ และ QC คือ การควบคุมคุณภาพ เน้นแก้ไข ตรวจสอบสินค้าที่มุ่งเน้นในการระบุว่าสินค้าแบบไหนที่ไม่ได้มาตรฐานหรือคุณภาพ

โดยทั้งสองส่วนนี้เป็นกระบวนการสำคัญในการผลิตที่คนที่เป็นอยากจะสร้างแบรนด์ควรให้ความสำคัญ ควรเลือกโรงงานที่มีการตรวจสอบมาตรฐานจาก QA และ QC โดยเฉพาะโรงงานรับผลิตครีม เครื่องสำอางหรือสกินแคร์ต่าง ๆ ที่นำไปใช้กับผิวหรือร่างกายเราโดยตรง หากมีคนที่ช่วยในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ รูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงฉลากสินค้าของเราก่อนไปถึงมือผู้บริโภคได้ จำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ และได้รับความพึงพอใจจากลูกค้านั่นเอง