ครีมกันแดด ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมในตลาด เพราะใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย คนแต่งหน้า หรือไม่แต่งหน้าอย่างน้อยก็ต้องทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวกันอย่างแน่นอน อีกทั้งในปัจจุบันที่แสงแดดในประเทศไทย เป็นปัจจัยเสี่ยงลำดับต้น ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาผิว จึงหนีไม่พ้นที่ใคร ๆ ต่างก็ต้องหากันแดดไว้ใช้ จนนำไปสู่การแข่งขันทางการตลาดเพื่อแย่งชิงลูกค้ามาเป็นของตน
แต่การผลิตครีมกันแดดให้มีความแตกต่าง มีความโดนเด่นต่างจากท้องตลาดเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับเจ้าของแบรนด์ แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถถ้าเรารู้กลุ่มเป้าหมาย มีการศึกษาหาข้อมูลเพื่อไปประกอบการตัดสินใจ
โดยในบทความนี้ Dermageneration จะพาว่าที่เจ้าของแบรนด์ทุกท่านไปรู้จักครีมกันแดดว่ามีแบบไหนบ้าง ถ้าจะเลือกผลิตควรผลิตแบบใด เพื่อนำไปสร้างความแตกต่าง สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้แตกต่างจากคู่แข่งต่อไป
ครีมกันแดด
ครีมกันแดด (Sunscreen) คือ ผลิตภัณฑ์ที่เอาไว้ปกป้องผิวหนังจากรังสี UV ที่มาจากแสงแดด ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผิวหมองคล้ำจากการสร้างเม็ดสีใต้ผิวหนัง รวมถึงสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง เพราะฉะนั้นการทาครีมกันแดดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะประเทศไทยของเรา
ครีมกันแดดมีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?
ครีมกันแดดมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทคืออะไรบ้าง โดยหลัก ๆ แล้ว ครีมกันแดดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.ประเภท Chemical Sunscreen

เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมี มีหน้าที่ในการปกป้องแสงแดด โดยการดูดซับรังสีเข้าไว้ในผิว แต่เมื่อผ่านไปสักพักสารเคมีจะเสื่อมสภาพ จึงต้องคอยทาครีมกันแดดทุก 2-3 ชั่วโมง แต่การเลือกใช้ครีมกันแดดที่มี SPF สูงมา ๆ ก็ไม่ได้ดีเสมอไป เพราะจะมีส่วนผสมของสารเคมีในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย
2.ประเภท Physical Sunscreen.

ครีมกันแดดประเภทนี้ เป็นครีมกันแดดที่ผสมสารที่สะท้อนรังสี UVA และ UVB ให้ออกไปจากผิว สารในกลุ่มนี้จะก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าสารในประเภทแรก แต่มีข้อเสียคือ เนื่องจากเป็นสารที่เคลือบผิวบนผิวหนังชั้นบนเพื่อรอการสะท้อนรังสี จึงทำให้ดูดซึมสู่ผิวน้อย เมื่อทาลงผิวจะทำให้มีความขาวมาก
3.ประเภท Hybrid Sunscreen

ครีมกันแดดประเภทนี้เป็นการผสมระหว่างประเภทแรกและประเภทสองเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการเสริมข้อดี และลดข้อเสียในแต่ละส่วน อย่างเช่น ลดการระคายเคืองต่อผิวจากการมีสารเคมีสูงเกินไป หรือลดความขาวเมื่อทาจากการมีสารสะท้อนรังสีเยอะ จึงทำให้เสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแดดร่วมกันที่ดีมากขึ้น
ครีมกันแดดมีเนื้อครีมแบบใดบ้าง?
ครีมกันแดดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายชนิด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย เพื่อความเหมาะสมต่อการใช้งาน รวมถึงเหมาะสมกับสภาพผิวของผู้ใช้งาน โดยรูปแบบของการผลิตครีมกันแดด มีดังต่อไปนี้
ครีมกันแดดแบบเนื้อครีม

ครีมกันแดดแบบเนื้อครีม เป็นการผลิตครีมกันแดดที่เนื้อสัมผัสมีความเข้มข้นกว่าแบบเจล จึงทำให้สามารถช่วยป้องกันแดดได้ยาวนานมากขึ้น เหมาะกับผู้ที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเล่นกีฬา เพราะสามารถทนต่อเหงื่อได้ดี อีกทั้งยังให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว จึงเหมาะกับผู้ที่มีผิวแห้งเช่นกัน
ข้อดี : สามารถปรับเนื้อสัมผัสได้ตามที่ต้องการ เช่น อยากให้เนื้อสัมผัสข้นหนืด หรือต้องการให้บางเบา ใส่สารต่าง ๆ ทั้งละลายน้ำ ไม่ละลายน้ำได้
ข้อเสีย : อาจจะมีความมัน และความเหนียวเหนอะหนะเวลาใช้ หรือถ้าไม่มีความมันในการใช้งานก็มักจะไม่ค่อยทนน้ำ ทนเหงื่อ
ครีมกันแดดแบบเนื้อเจล
ครีมกันแดดแบบเนื้อเจล จะเหมาะแก่การผลิตให้กับทุกสภาพผิว ทั้งผิวมัน ผิวแห้ง และผิวธรรมดา เพราะมีเนื้อสัมผัสที่บางเบา ซึมซาบไว้ และไม่เหนียวเหนอะหนะ รู้สึกไม่หนักผิวเมื่อใช้
ข้อดี : เมื่อทาแล้วไม่รู้สึกเหนียวเหนอะหนะ ซึมซาบเร็ว ไม่ทิ้งคราบขาวบนหน้าให้เห็น
ข้อเสีย : มักจะไม่ค่อยกันน้ำ แต่หากเป็นเนื้อซิลิโคนก็จะติดทนมากขึ้น หรือในบางสูตรก็จะมีความมันอย่างเห็นได้ชัด
ครีมกันแดดเนื้อน้ำนม
ครีมกันแดดแบบเนื้อน้ำนม จะเหมาะกับการผลิตให้กับผู้ที่ต้องการ การปกป้องจากแสงแดดและต้องการการบำรุง เพราะเนื้อครีมกันแดดนั้นจะมีการผสมกันระหว่างคุณสมบัติของเนื้อครีมกับเนื้อสัมผัสที่เบาบางเหมือนน้ำ จึงทำให้รู้สึกไม่หนักผิวจนเกินไป
ข้อดี : มีเนื้อสัมผัสที่บางเบา ไม่หนักผิว แห้งไว ไม่เหนียวเหนอะหนะ รวมถึงไม่ทำให้เครื่องสำอางเป็นคราบ
ข้อเสีย : เนื้อสัมผัสรูปแบบนี้มักจะให้ความชุ่มชื้นที่ไม่เพียงพอ จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิวแห้ง แต่สามารถพัฒนาสูตรโดยใส่สารที่เพิ่มความชุ่มชื้นลงไปเพิ่มเติมได้ เช่น กรดไฮยารูลอนิก เป็นต้น และส่วนใหญ่ไม่ค่อยกันน้ำ จึงไม่เหมาะกับผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง อาจทำให้ครีมกันแดดหลุดออกได้ง่าย
ครีมกันแดดแบบผสมรองพื้น

การผลิตครีมกันแดดแบบผสมรองพื้น จะเหมาะกับผู้ที่ต้องการให้ผิวได้รับการปกป้อง พร้อมกับการปกปิดรอยต่าง ๆ บนใบหน้า เนื่องจากเป็นครีมกันแดดที่มีเนื้อสัมผัสที่ผสมกันระหว่างครีมกันแดดกับรองพื้น จึงช่วยให้ผิวหน้านั้นเรียบเนียนไปพร้อมกับการปกป้องในขั้นตอนเดียว
ข้อดี : เนื้อครีมกันแดดประเภทนี้จะผสมรองพื้นเข้าไปในเนื้อครีม จึงทำให้เกลี่ยง่าย ช่วยปกปิดรอยแดง รอยดำได้ดี ช่วยลดขั้นตอนการแต่งหน้าไปได้หนึ่งขั้นตอน
ข้อเสีย : อาจจะรู้สึกหนักหน้า และมีหลากหลายเฉดสีจึงต้องเลือกให้แมทต์กับสีผิว เพราะอาจทำให้หน้าลอยได้ อีกหนึ่งข้อเสียคือ อาจจะรู้สึกหน้ามันได้ระหว่างวัน
ครีมกันแดดแบบโลชั่น
การผลิตครีมกันแดดแบบโลชั่น เหมาะกับผู้ที่ต้องการการปกป้องที่มากขึ้น โดยมีตั้งแต่เนื้อสัมผัสที่เป็นครีม จนไปถึงเนื้อสัมผัสที่คล้ายแป้งน้ำ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการความเข้มข้น หรือต้องการความบางเบา แบบซึมซาบเร็ว โดยมีทั้งทาผิวกาย และผิวหน้า
ข้อดี : มีเนื้อสัมผัสที่เหลว เมื่อทาแล้วจะรู้สึกว่าปกป้องทั่วถึง ทาแล้วไม่ค่อยรู้สึกมัน และสามารถพัฒนาสูตรโดยการเติมสารช่วยดูดซึม ช่วยเรื่องความมันบนใบหน้าได้
ข้อเสีย : เนื้อครีมประเภทนี้มักจะตกตะกอน หรือแยกชั้นกันได้ง่าย ต้องมีการเขย่าโดยใช้ลูกเหล็กช่วยในการเขย่าด้วย เพราะหากเขย่าได้ไม่ได้ ครีมกันแดดจะกองอยู่บริเวณก้นผลิตภัณฑ์
ครีมกันแดดแบบสเปรย์
ครีมกันแดดแบบสเปรย์ เป็นหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมในการผลิต และผู้บริโภคหันมาสนใจเพิ่มมากขึ้น จากรูปแบบที่ใช้งานง่าย เพียงแค่ฉีดลงบนผิว โดยไม่ต้องใส่มือหรืออุปกรณ์ช่วยในการเกลี่ย จึงทำให้สามารถใช้งานได้ระหว่างวันอย่างง่ายดาย
ข้อดี : ใช้งานง่าย พกพาสะดวก เป็นรูปแบบที่ทันสมัย หลายแบรนด์เลือกที่จะผลิตและสามารถฉีดลงบนผิวได้โดยไม่ต้องใช้มือ
ข้อเสีย : มีต้นทุนในการผลิตที่สูง ทั้งต้นทุนในครีมกันแดด ค่าอัดกระป๋อง รวมถึงการเลือกหัวฉีดที่นำมาทำ ต้องตอบโจทย์การใช้งาน ไม่กระจายเกินไป หรือ การกระจายตัวนั้นต้องสม่ำเสมอกัน ไม่เป็นเพียงแค่การฉีดพ่นเฉย ๆ
ครีมกันแดดแบบแท่ง หรือ Sun Stick

ครีมกันแดดแบบแท่ง หรือ (Sun Stick)เป็นครีมกันแดดที่ได้รับความนิยมในการผลิตจากเจ้าของแบรนด์เช่นเดียวกัน เพราะเป็นครีมกันแดดที่สะดวก รวดเร็วในการใช้งาน เหมาะกับผู้ที่ต้องการความรวดเร็ว และสามารถพกพาได้สะดวก และที่สำคัญสามารถเติมได้ระหว่างวัน และสามารถทาทับเครื่องสำอางได้โดยไม่ทำให้เครื่องสำอางหลุดออกมา
ข้อดี : สะดวกต่อการใช้งาน พกพาง่าย น้ำหนักเบา สามารถหยิบทาทับเครื่องสำอางได้ระหว่างวัน โดยไม่ต้องใช้มือ และไม่ทำให้เครื่องสำอางหลุดออก และสามารถพัฒนาสูตรให้กันน้ำได้
ข้อเสีย : ต้องทาซ้ำหลายรอบ เพื่อให้ได้การป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และหากพัฒนาสูตรที่ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้เมื่อใช้แล้วเป็นคราบ หรือทำให้เครื่องสำอางหลุดออกได้
ครีมกันแดดเนื้อฟลูอิด
เป็นครีมกันแดดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสูตรที่มีความบางเบาเหมือนน้ำ เกลี่ยง่าย และซึมซาบเร็ว ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายผิวมากขึ้น ไม่เหนียวเหนอะหนะ เหมาะแก่การใช้เป็นประจำทุกวัน
ข้อดี : มีเนื้อสัมผัสที่บางเบา ไม่หนักผิว ไม่เหนียวเหนอะหนะ เกลี่ยง่าย ซึบซาบไว ทาลงบนผิวแล้วไม่รู้สึกหนัก หน้าไม่ลอย ไม่ทำให้เครื่องสำอางเป็นคราบ อีกทั้งยังสามารถช่วยควบคุมความมันได้
ข้อเสีย : ไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิวที่แห้งมากเกินไป เพราะความชุ่มชื้นไม่เพียงพอ จึงสามารถพัฒนาสูตรให้ครีมมีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้ อีกทั้งเนื้อแบบฟลูอิดจะไม่ค่อยกันน้ำ การทำกิจกรรมการแจ้งนาน ๆ อาจทำให้ครีมหลุดออกมาได้
สรุป
ครีมกันแดดนั้นมีหลากหลายชนิด หลากหลายรูปแบบ และมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป หากเจ้าของแบรนด์ ที่อยากผลิตครีมกันแดด สร้างแบรนด์ครีมกันแดดเป็นของตัวเอง กำลังมองหาไอเดียในการนำไปผลิต ก็สามารถลองนำรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ ไปศึกษากลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าที่จะใช้งาน ว่ากลุ่มเป้าหมายของเรานั้นเหมาะกับครีมกันแดดรูปแบบไหน
แต่หากเจ้าของแบรนด์ท่านใดมีไอเดียแต่ยังไม่แน่ใจว่าจะผลิตครีมกันแดดแบบไหนดี Dermageneration โรงงานรับผลิตครีม สกินแคร์ ที่มีมาตรฐานสากลรองรับ อย่างเช่น ISO, GMP ยินดีให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาเจ้าของแบรนด์ทุกท่าน พร้อมดูแลท่านแบบครบวงจร