OEM, ODM และ OBM โรงงานรับผลิตสินค้าแบบต่าง ๆ คำนี้ที่หลายคน โดยเฉพาะ คนที่อยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองคุ้นชินกัน ซึ่งเป็นตัวช่วยในการพาเจ้าของแบรนด์ไปสู่ความสำเร็จ ให้สามารถสร้างกำไรได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนจำนวนมาก และไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการผลิตก็สามารถที่จะเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ แต่โรงงานรับผลิตแบบไหนจะเหมาะสมกับสินค้าหรือธุรกิจของเรา บทความนี้เรามาทำความเข้าใจไปด้วยกัน
OEM, ODM และ OBM คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
สำหรับใครที่อยากจะสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง เริ่มวางแผนที่จะเป็นเจ้าของแบรนด์และผลิตสินค้าที่สามารถเชื่อถือในมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัยได้ คงเคยได้ยินคำว่า OEM, ODM และ OBM บทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร
OEM คืออะไร?

ประเภทแรก OEM หรือที่ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer เป็นโรงงานที่ไม่เน้นในการสร้างแบรนด์ให้กับตัวเองแต่จะเน้นสร้างแบรนด์ให้กับลูกค้า โดยเน้นผลิตสินค้าให้กับลูกค้าที่ต้องการติดชื่อแบรนด์หรือไม่ติดชื่อแบรนด์ก็ได้ ดูแลตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงเครื่องจักรในการผลิต เหมาะกับลูกค้าที่ไม่มีโรงงานเป็นของตนเองหรือผู้ที่เริ่มต้นสร้างแบรนด์ ต้องการผลิตจำนวนน้อยถึงปานกลาง ทำให้ลูกค้าที่จ้างนั้นประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ลงทุนในการผลิตไม่มาก และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ความแตกต่างของ OEM มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร
การผลิตกับโรงงานรับผลิตแบบ OEM ที่สามารถดูแลการสร้างแบรนด์ของคุณแบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การขึ้นทะเบียนสินค้า ไปจนถึงการทำการตลาด ซึ่งมีข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
ข้อดี | ข้อจำกัด | |
---|---|---|
OEM | ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง | ต้นทุนการผลิตรวมค่อนข้างสูงกว่าการมีโรงงานผลิตเอง |
ต้นทุนในการผลิตเริ่มต้นไม่สูง | หากมีการใช้สูตรมาตรฐานกลางอาจทำให้สินค้าไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ | |
มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลให้คำปรึกษา | เกิดการเลียนแบบสินค้าได้ง่าย | |
สามารถย้ายฐานการผลิตได้ตลอดเวลา ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ |
ODM คืออะไร?

ODM หรือ Original Design Manufacturer คือ โรงงานผลิตที่เป็นผู้รับจ้างในการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายให้กับแบรนด์ตัวเอง มีความคล้ายกับโรงงานประเภท OEM แต่แตกต่างกันตรงที่สามารถพัฒนารูปแบบสินค้าได้เองและนำไปเสนอขายให้กับลูกค้าที่มีแบรนด์อยู่แล้ว หรือสามารถออกแบบร่วมกันกับลูกค้าได้ รวมถึงสามารถออกแบบเฉพาะรายหรือที่เรียกว่า Exclusive Design แบบไม่ซ้ำใคร หรือออกแบบให้ใช้ได้ในหลาย ๆ รายเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ถูกลง
ความแตกต่างของ ODM มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร
การผลิตกับโรงงานรับผลิตแบบ ODM ที่บริการครบวงจรเช่นเดียวกับ OEM เพียงแต่แตกต่างกันที่ ODM นั้นจะสามารถพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เองได้เพื่อให้เข้ากับแบรนด์มากยิ่งขึ้น แต่จะมีต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่า โดยมีข้อดีและข้อจำกัดดังนี้
ข้อดี | ข้อจำกัด | |
---|---|---|
ODM | ต้นทุนในการเริ่มต้นไม่สูง | มีต้นทุนที่สูงกว่าการผลิตประเภทอื่น เพราะมีเรื่องการออกแบบเข้ามาเกี่ยวข้อง |
เหมาะกับผู้เริ่มต้นสร้างแบรนด์ เพราะไม่ต้องออกแบบเอง สามารถขายได้เลย | ||
สินค้ามีความแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ในตลาด | ||
สามารถย้ายฐานการผลิตได้ตลอดเวลา | ||
มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา |
OBM คืออะไร?

ประเภทสุดท้าย OBM ย่อมาจาก Original Brand Manufacturer คือ โรงงานที่เน้นการผลิตสินค้าออกมาในตราสินค้าของแบรนด์ตัวเอง โรงงานประเภทนี้เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง มีการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก หากเป็นแบรนด์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ มีฐานลูกค้าที่เยอะ การสร้างโรงงาน OBM จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตไปได้ค่อนข้างมาก
ความแตกต่างของ OBM มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร
การผลิตกับโรงงานแบบ OBM เน้นไปที่การผลิตโดยมีเจ้าของแบรนด์เป็นผู้ผลิตเอง มีโรงงาน และผู้เชี่ยวชาญเป็นคนตัวเอง และเน้นไปที่ความมั่นคง การเติบโตของแบรนด์ในระยะยาวเป็นหลัก โดยมีข้อดีและข้อจำกัดดังนี้
ข้อดี | ข้อจำกัด | |
---|---|---|
OBM | มีโรงงานเป็นของตัวเอง สามารถลดต้นทุนการผลิตไปได้อย่างมาก | มีการใช้เงินทุนที่สูงในการสร้างโรงงาน |
สามารถควบคุมปริมาณการผลิตได้ด้วยตัวเอง | มีค่าใช้จ่ายเยอะเช่น ค่าพนักงาน | |
สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ตลอดเวลา | ไม่มีผู้เชี่ยวชาญดูแลให้คำปรึกษาเนื่องจากผลิตเองทุกขั้นตอน | |
ย้ายฐานการผลิตได้ยาก |
การผลิตแบบ OEM & ODM และ OBM เหมาะกับใคร

การผลิตแบบ OEM เหมาะกับใคร
- เหมาะกับผู้ที่ต้องสร้างแบรนด์ครีม เครื่องสำอางเป็นของตัวเองโดยใช้ต้นทุนไม่สูงมาก
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการมีผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาระหว่างทำแบรนด์ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้อง
- เหมาะกับผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการผลิต การพัฒนาสูตร หรือการสร้างแบรนด์
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการบริการแบบครบวงจร แบบ One Stop Service ในการผลิตและสร้างแบรนด์
การผลิตแบบ ODM เหมาะกับใคร
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการพัฒนาสูตร หรือคิดค้นสูตรใหม่ ๆ ในการผลิต
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการที่ปรึกษา เพื่อให้การผลิตเป็นไปอย่างเป็นระบบ ได้กำไรที่เติบโต
- เหมาะกับผู้ที่พอมีความรู้ในเรื่องของการพัฒนาสูตรของครีม เครื่องสำอางต่าง ๆ และมีการวางแผนการตลาดในระยะยาว
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการบริการแบบ One Stop Service ในการผลิต พัฒนาสูตร รวมถึงการสร้างแบรนด์
การผลิตแบบ OBM เหมาะกับใคร
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการความมั่นคง และสร้างแบรนด์ให้เติบโตในระยะยาว
- เหมาะกับผู้ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ และพร้อมที่จะลงทุนในต้นทุนที่สูง
- เหมาะกับผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญสูง ในการควบคุมการผลิต การพัฒนาสูตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำการตลาดด้วยตัวเองทั้งหมด
แนะนำหลักเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการเลือกโรงงานในการผลิต

หลักเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการเลือกโรงงานในการผลิตสินค้า โดยยกตัวอย่างสินค้าประเภทการเสริมความสวยความงามที่เป็นที่นิยมในการใช้โรงงานในการผลิตในปัจจุบัน โดยที่
เลือกโรงงานที่มีมาตรฐานรองรับ
ปัจจัยแรกที่ควรพิจารณาในการเลือกโรงงานคือ โรงงานมีมาตรฐาน ความปลอดภัยรับรองหรือไม่ มีเอกสารรับรองมาตรฐานต่าง ๆ หรือเปล่า โรงงานต้องมีความน่าเชื่อถือ ต้องคำนึงถึงคุณภาพของส่วนผสมที่ใช้ เพื่อสินค้าของเราจะได้มีคุณภาพตรงตามความต้องการ
เลือกโรงงานที่ดี มีบริการครบครัน
ควรเลือกโรงงานที่ไม่ได้มีแค่การผลิตเท่านั้น แต่มีบริการที่ช่วยในการคิดค้น วิจัย พัฒนาสูตรไปกับเรา ให้สินค้าของเรามีความโดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดตามที่เราต้องการ หรือดูแลครบทั้งแต่เริ่มต้นการผลิตไปจนถึงหลังจากวางขายสินค้าสู่ท้องตลาด
เลือกโรงงานที่มีผู้เชี่ยวชาญดูแลให้คำปรึกษา
อีกหนึ่งปัจจัยคือสำหรับผู้ที่เริ่มต้นสร้างแบรนด์ควรเลือกโรงงานที่มีทีมคอยดูแลให้คำปรึกษา เพราะเราจะได้ทราบถึงกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มคิดสูตร จนไปถึงการดูแลด้านการขายหลังจากวางจำหน่ายสู่ท้องตลาด เพื่อจะได้มั่นใจว่าสินค้าของเราเป็นที่ต้องการของตลาด และเป็นไปตามแผนที่เราวางไว้
เลือกโรงงานที่มีการทดสอบก่อนวางจำหน่าย
เลือกโรงงานที่มีการทดสอบสินค้าก่อนวางจำหน่าย ว่าผู้ใช้สินค้าจะมีอาการแพ้ หรือผิดปกติระหว่างใช้งานหรือมา รวมถึงทดสอบความพึงพอใจของลูกค้าก่อนการวางจำหน่าย
เลือกโรงงานที่สินค้ามีเครื่องหมายอย.
และปัจจัยสุดท้ายที่ห้ามพลาดคือ เมื่อทำการผลิตกับโรงงานโดยเฉพาะการผลิตกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องสำอาง ความสวยความงาม อาหาร และยา ควรมีเครื่องหมายอย. รับรอง หากเลือกโรงงานที่มีบริการในการช่วยยื่นจดแจ้ง หรือยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนสินค้าให้จะช่วยลดความยุ่งยากของขั้นตอนนี้ให้กับเราได้
สรุป
หากคุณอยากที่สร้างแบรนด์เป็นของตัวเองและกำลังมองหาโรงงานในการผลิตสินค้าให้กับคุณ คงพอที่จะเห็นความแตกต่างแล้วว่าโรงงาน OEM และ ODM จะเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง ต้องการหาฐานการผลิตสินค้า มีปริมาณการผลิตยังไม่สูงมาก มีทั้งสินค้าที่ไม่แตกต่างจากที่วางขายในท้องตลาด และการผลิตสินค้าแบบ Exclusive Design โดยเฉพาะ ส่วนโรงงาน OBM จะเหมาะกับแบรนด์ที่มีมั่นคงมากกว่า ต้องการสร้างฐานการผลิตที่สามารถควบคุมทุกกระบวนการได้ สามารถสร้างโรงงานเองได้ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิตไปได้ค่อนข้างมาก
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกโรงงานผลิตประเภทไหนก็ตามให้ตรวจสอบให้มั่นใจว่าโรงงานนั้นมีคุณภาพ ความสะอาด ปลอดภัยได้มาตรฐานรองรับ เพื่อที่เราจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการทำธุรกิจของเรา